บีสฟีนอลเอและขวดนมชนิดพลาสติก

โดย บังอร บุญชู และ พูนทรัพย์ วิชัยพงษ์

วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ปีที่ 59 ฉบับที่ 185 ประจำเดือน มกราคม ปีที่พิมพ์ 2554

บทคัดย่อ

       ในการศึกษาปริมาณบิสฟีนอลเอที่แพร่ออกจาขวดนมพลาสติกชนิดพอลิคาร์บอเนตโดย LC-MS/MS MRM-negative porality mode สามารถตรวจบืนยันเอกลักษณ์เชิงคุณภาพด้วยมวลโมเลกุลที่สูญเสียโปรตรอน m/z 227 และ productions ที่  m/z 212 และ 133 ความสัมพันธ์เชิงเส้นของบิสฟีนอลเอ m/z 227/212 กับบิสฟีนอลเอฟ m/z 199/93 ในช่วงความเข้มข้น 5-200 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร มีค้า correlation coefficient (R2) 0.999 ค่าต่ำสุดที่สามารถตรวจวัด (Limit of Detecton, LOD) 0.2 ไมโครกรัมต่อลิตร ผลการทดสอบขวดนมพลาสติกชนิดพอลิตาร์บอเนตใหม่และเก่าที่ผลิตในประเทศไทยจำนวน 10 ยี่ห้อ ขนาดความจุ 30-250 มิลลิลิตร พบว่าการทดสอบขวดนมใหม่ 8 ยี่ห้อ ด้วยน้ำกลั่นต้มที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมงไม่พบบีสฟีนอลเอจนถึงน้อยกว่า 0.5 ไมโครกรัมต่อลิตร ผลการทดสอบขวดนมใหม่ 2 ยี่ห้อด้วยน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสนาน 10 วันยี่ห้อเดียวกันกับชุดแรก 7 ขวดพบ 72.6-84.5 ไมโครกรัมต่อลิตรและชุดที่ 2 จำนวน 13 ขวดพบ 100.9-208.6 ไมโครกรัมต่อลิตร การทดสอบด้วยน้ำกรองต้มที่อุณหภูมิห้อง 24 ชั่วโมง 10 ขวดพบ 0.6-5.4 ไมโครกรัมต่อลิตร และพบว่าที่ 80 องศาเซลเซียสในช่วงเวลา 30 นาที บิสฟีนอลเอสูงขึ้นถึง 9 ไมโครกรัมต่อลิตร ผลทดสอบด้วยน้ำประปาต้ม 10 ขวดที่ 80 องศาเซลเซียส นาน 30 และ 60 นาที่พบ 15.6-30.2 และ 32.8-54.6 ไมโครกรัมต่อลิตรตามลำดับ ในการทดสอบขวดนมเก่าที่ใช้งาน 1-2 ปี 5 ขวด ด้วยน้ำกรองต้มที่ 80 องศาเซลเซียสนาน 30 นาที พบบิสฟีนอลเอ 5.9-11.8 ไมโครกรัมต่อลิตร
       จากการทดสอบข้างต้นแสดงว่าการเติมน้ำร้อนลงในขวดนมพลาสติกชนิดพอลิตาร์บอเนตและแช่ไว้จะมีปริมาณบีสฟีนอลเอเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา เมื่อใช้น้ำประปาต้มน้ำพบบิสฟีนอลเอสูงกว่าน้ำกรองและน้ำกลั่น ดังนั้นในการใช้ขวดนม จึงต้องหลีกเสียงการใช้น้ำร้อนจัดเทใส่ขวดโดยตรง ไม่ใช้ขวดเก่าและไม่ควรแช่น้ำอุ่นและอุ่นน้ำนมไว้ในขวดเป็นเวลานาน

Off Canvas menu