วันที่ 29 มิถุนายน 2566 นายปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและนักวิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับผู้เชี่ยวชาญด้านการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารจากสหภาพยุโรป ประกอบด้วย Ms. Milada Sycova จากหน่วยงาน Public Health Authority สาธารณรัฐสโลวัก และ Ms. Jitka Sosnovcova จากสถาบัน National Institute of Public Health สาธารณรัฐเช็ก เนื่องในโอกาสเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านอาหารของอาเซียน สาขาวัสดุสัมผัสอาหาร (ASEAN Food Reference Laboratory for Food Contact Materials, AFRL for FCM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและให้ข้อแนะนำด้านการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ภายใต้โครงการ Better Training for Safer Food (BTSF) จัดโดยคณะกรรมธิการยุโรป (EU Commission)

 

 

นายชินวัฒน์ ทองชัช และนายพิริยะ ศรีเจ้า นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เข้ารับการฝึกอบรมในหัวข้อ “Analysis of Surrogate Substances from Challenge Test in rPET” ระหว่างวันที่ 4 – 8 กันยายน 2566 ณ ห้องปฏิบัติการสถาบัน Aragon Institute for Engineering Research มหาวิทยาลัยซาราโกซา ราชอาณาจักรสเปน  การอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการวิเคราะห์สารตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ (Surrogate Substances) ได้แก่ Chlorobenzene เป็นสารตัวแทนกลุ่ม Volatile polar, Toluene เป็นสารตัวแทนกลุ่ม Volatile non-polar,  Benzophenone เป็นสารตัวแทนกลุ่ม Non-volatile polar และ Phenylcyclohexane เป็นสารตัวแทนกลุ่ม Non-volatile non-polar ในพลาสติกรีไซเคิลพอลิเอทิลีนเทเลฟทาเลต (Recycled Polyethylene Terephthalate, rPET) สำหรับการประเมินประสิทธิภาพการกำจัดสารปนเปื้อนในกระบวนการรีไซเคิล (Decontamination Efficiency) เพื่อนำกลับมาผลิตเป็นวัสดุสัมผัสอาหารด้วยวิธี Challenge Test ตามแนวทางของสหภาพยุโรป

      กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านอาหารของอาเซียน สาขาวัสดุสัมผัสอาหาร (ASEAN Food Reference Laboratory for Food Contact Materials, AFRL for FCM) ส่งผู้แทนจากกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร และกองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการห้องปฏิบัติการทดสอบอาหารของอาเซียน (ASEAN Food Testing Laboratory Committee, AFTLC) ครั้งที่ 14 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2562 มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมการประชุมทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม  กัมพูชา  อินโดนีเซีย  ลาว  มาเลเซีย  เมียนมาร์  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  ไทย และเวียดนาม การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาเอกสารและขั้นตอนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านอาหารของอาเซียน   ผลการตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการที่สมัครเป็น AFRL สาขาใหม่ได้แก่ สาขา Marine Biotoxins and Scombrotoxin  และรับทราบผลการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านอาหารของอาเซียน สาขาต่าง ๆ รวมทั้งพิจารณาขอการสนับสนุนจากหน่วยงาน PTB (Physikalisch-Technische Bundesanstalt) ของประเทศเยอรมนี สำหรับการจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญและการฝึกอบรมให้แก่ห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านอาหารแห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งความสามารถด้านการทดสอบความปลอดภัยอาหารในภูมิภาคอาเซียน

       Department of Science Service (DSS) cooperating with Office of Permanent Secretary (OPS), Ministry of Science and Technology, organized FCM Training 2019: Food Contact Regulations for Rubber Products during March 19th – 21st, 2019 at DSS.

       The objectives of the training were to enhance the capability of laboratory personnel of ASEAN member countries and to provide Thai small and medium enterprises (SMEs) with the information of international regulations and standards for food contact rubbers as well as the determination of residual powder, aqueous extractable protein content, Nitrosamine and Nitrosatable in rubber products. In this regard, Dr. Martin Forrest, the expert from Smithers Rapra, UK, was invited to be the lecturer. There were totally 40 participants consisting of 23 from Thai SMEs and 17 from national food reference laboratories of 9 ASEAN Member countries (Brunei Darussalam, Cambodia, Indonesia, Lao PDR, Myanmar, Philippines, Singapore, Thailand and Vietnam). In addition, the ASEAN delegates visited Royal Industries (Thailand) Public Company Limited on March 21st, 2019 in order to study the manufacturing processes of silicone teats and plastic baby bottles including the quality control of products at in-house testing laboratory. In conclusion, this training brought the opportunity to exchange the knowledge and information of regulations on food contact materials among Thai manufacturers, analysts, and experts as well as creating the network of food contact materials safety among ASEAN region.

      กรมวิทยาศาสตร์บริการมีความร่วมมือกับ International Life Sciences Institute (ILSI)  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “Recycled Food Packaging: Scientific Advances and Regulatory Development” เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562 ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ กรุงเทพฯ สุขุมวิท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับการรีไซเคิลพลาสติกในด้านกฎระเบียบทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การนำพลาสติกรีไซเคิลไปใช้งาน และการทดสอบความปลอดภัยของการใช้พลาสติกรีไซเคิล นอกจากนี้ยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับการแก้ไขกฎระเบียบบรรจุภัณฑ์อาหารของไทยให้ครอบคลุมการใช้พลาสติกรีไซเคิล

Off Canvas menu