การทวนสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบบิสฟีนอลเอในขวดพลาสติกสำหรับเครื่องดื่มของเด็กทารก โดยใช้เทคนิค High Performance Liquid Chromatography

การทวนสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบบิสฟีนอลเอในขวดพลาสติกสำหรับเครื่องดื่มของเด็กทารก โดยใช้เทคนิค High Performance Liquid Chromatography

โดย สมภพ ลาภวิบูลย์สุข

วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ปีที่ 59 ฉบับที่ 187 ประจำเดือน กันยายน ปีที่พิมพ์ 2554

บทคัดย่อ 

       การทวนสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบบิสฟีนอลเอในขวดพลาสติกสำหรับเครื่องดื่มของเด็กทารกโดยใช้เทคนิค High Performance Liquid Chromatography (HPLC) ตามวิธีมาตรฐาน European Standard EN 14350-2: 2004 ในตัวอย่างขวดพลาสติกหรือขวดนมที่ใช้สำหรับบรรจุนมหรือน้ำผลไม้สำหรับเด็กทารก การทวนสอบนี้ใช้สารละลายตัวแทนอาหาร (food simulants) คือน้ำกลั่นและกรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 3 (น้ำหนักต่อปริมาตร)  การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเส้น (linearity) ได้กราฟมาตรฐานมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient, R2) เท่ากับ 0.9999 ของทั้งน้ำกลั่นและกรดอะซิติก และพบว่าขีดจำกัดในการตรวจพบ (limit of detection, LOD) เท่ากับ 1.09 และ 0.41 ไมโครกรัมต่อลิตร และขีดจำกัดในการวัดปริมาณ (limit of quantitation, LOQ) เท่ากับ 4.00 และ 2.00 ไมโครกรัมต่อลิตร สำหรับน้ำกลั่นและกรดอะซิติก ตามลำดับ  การทดสอบความถูกต้อง (accuracy) พิจารณาจากความแม่น (trueness) และความเที่ยง (precision)ในการทดสอบตัวอย่างที่มีการเติมสารละลายมาตรฐานบิสฟีนอลเอที่ระดับความเข้มข้นของขีดจำกัดในการวัดปริมาณ ได้ร้อยละค่ากลับคืน (%recovery) อยู่ในช่วงร้อยละ 99.7-105.3 และ 91.5-108.5 และพบว่าการทวนซ้ำ (repeatability) แสดงด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ของการทวนซ้ำ (relative standard deviation of repeatability, %RSDr) เท่ากับร้อยละ 1.85 และ 4.88 สำหรับน้ำกลั่นและกรดอะซิติก ตามลำดับ  จากผลการทดลองนี้พบว่าวิธีการทดสอบนี้เป็นวิธีที่เหมาะสมต่อการทดสอบบิสฟีนอลเอในขวดพลาสติกสำหรับเครื่องดื่มของเด็กทารกโดยใช้เทคนิค HPLC อ่านฉบับเต็ม