แนวโน้มของสาร Bisphenol A, BPA ในขวดนมโพลีคาร์บอเนต ที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของเด็กทารกในประเทศไทย
โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการร่วมกับสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การประเมินความปลอดภัยของสาร BPA ในขวดนมเลี้ยงทารก
-
ข้อมูลการประเมินความปลอดภัยของ FAOWHO 2011 สรุปได้
ว่าสาร BPA ยังไม่จัดเป็นสารก่อมะเร็งแต่ในประเทศเดนมาร์ก
ฝรั่งเศส ฯลฯได้มีการประเมินความเสี่ยงของสาร BPA และ
พบว่ามีผลต่อระบบประสาทและพฤติกรรมของหนูแรกเกิด -
สรุปงานประเมินของหลายประเทศพบว่า สาร BPA เป็น
Hormone disrupture (ยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเอสโทรเจน)
เนื่องจากสาร BPA มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโทรเจน และมี
ผลกระทบต่อระบบการสืบพันธ์ และการผลิตฮอร์โมน ดังนั้น
สหภาพยุโรปได้สั่งห้ามจำหน่ายตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554